ในแต่ละวันร่างกายต้องการสารอาหารที่หลากหลายกว่า 40 ชนิด เพื่อการรักษาสุขภาพและการป้องกันโรคต่างๆ
อาหารที่เรากินในแต่ละวันจะมีประโยชน์หรือมีโทษต่อร่างกายก็อยู่ที่เราเลือกกิน การผสมผสานให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม
การทานอาหารให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกายควรยึดหลักความหลากหลายและสมดุล รวมถึงปริมาณในการบริโภคให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน
คนที่ทำงานใช้แรงงานหนักหรือออกกำลังกายสม่ำเสมอก็ต้องทานอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตหรือโปรตีน
มากกว่าคนที่ทำงานนั่งอยู่ในออฟฟิศ ซึ่งวันๆ ไม่ค่อยได้ขยับตัวหรือใช้พลังงานมากนัก
สารอาหารขนาดใหญ่
[1] สารอาหาร : คาร์โบไฮเดรต
ประโยชน์ : ให้พลังงานแก่ร่างกาย
แหล่งอาหารที่ดี : ข้าวกล้อง, ข้าวกล้องงอก, ข้าวไรซ์เบอร์รี่, ธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากธัญพืชไม่ขัดสี, นม, ผลไม้, ผัก
[2] สารอาหาร : โปรตีน
ประโยชน์ : ช่วยในการเจริญเติบโต เสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างฮอร์โมน เอนไซม์ เม็ดเลือด และ ภูมิคุ้มกัน
แหล่งอาหารที่ดี : ปลา, เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน, ไข่, ถั่วเหลือง, และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง, ถั่วเมล็ดแห้ง, นมไขมันต่ำหรือขาดไขมัน
[3] สารอาหาร : ไขมันดี โอเมก้า-3
ประโยชน์ : เสริมสร้างสุขภาพหัวใจและสมองป้องกันการอักเสบ
แหล่งอาหารที่ดี : ปลาทะเล, อาหารทะเล, วอลนัท, สาหร่ายทะเล, แฟลกซ์ซีด
[4] สารอาหาร : กรดไขมันไม่อิ่มตัว ตำแหน่งเดียว
ประโยชน์ : ป้องกันโรคหัวใจ
แหล่งอาหารที่ดี : น้ำมันมะกอก, น้ำมันเมล็ดชา, ถั่วเปลือกแข็ง
[5] สารอาหาร : น้ำ
ประโยชน์ : ช่วยการทำงานในระบบต่างๆ รวมทั้งระบบย่อยและดูดซึม
แหล่งอาหารที่ดี : น้ำสะอาด, น้ำผัก, น้ำผลไม้, น้ำสมุนไพรไม่เติมน้ำตาล
สารอาหารกลุ่มวิตามิน
[6] สารอาหาร : วิตามินเอ
ประโยชน์ : จำเป็นต่อสุขภาพผิว ตา ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตของร่างกาย
แหล่งอาหารที่ดี : ผักและผลไม้สีเหลืองหรือสีส้มจัด (แครอท, ฟักทอง, มันเทศ, ข้าวโพดหวาน) ผักใบเขียวจัด
[7] สารอาหาร : วิตามินซี
ประโยชน์ : สร้างคอลลาเจน, ช่วยให้แผลหายเร็ว, ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน, ต้านอนุมูลอิสระ
แหล่งอาหารที่ดี : ส้ม, ฝรั่ง, กีวี, สัปปะรด, แคนตาลูป, มะม่วง, แตงโม, บร็อคโคลี, มะเขือเทศ, พริกต่างๆ
[8] สารอาหาร : วิตามินอี
ประโยชน์ : ชะลอวัย, เพิ่มภูมิต้านทาน, ต้านอนุมูลอิสระ
แหล่งอาหารที่ดี : ผักใบเขียว, พริกหวาน, ถั่วเปลือกแข็ง, อัลมอนต์, เมล็ดทานตะวัน, ธัญพืชไม่ขัดสี, น้ำมันพืช
[9] สารอาหาร : วิตามินดี
ประโยชน์ : ช่วยการดูดซึมแคลเซียมซึ่งจำเป็นต่อความหนาแน่นของกระดูก, ช่วยการทำงานของระบบสมอง, ป้องกันมะเร็ง
แหล่งอาหารที่ดี : แสงแดด, น้ำมันตับปลา, ปลาซาร์ดีน, ปลาแซลมอน, หอยนางรม, นม, เห็ด
[10] สารอาหาร : วิตามินเค
ประโยชน์ : ช่วยการแข็งตัวของเลือด, ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก
แหล่งอาหารที่ดี : ตับ, ไข่, ผักใบเขียวจัด (ผักโขม, บร็อคโคลี, คะน้า, แขนงผัก, บัวบก) กะหล่ำปลี, ดอกกะหล่ำ, น้ำมันถั่วเหลือง
[11] สารอาหาร : วิตามินบี 1
ประโยชน์ : ช่วยการเผาผลาญพลังงาน
แหล่งอาหารที่ดี : เนื้อหมู, เครื่องในสัตว์, จมูกข้าวสาลี, เมล็ดทานตะวัน, ถั่ว, นมถั่วเหลือง
[12] สารอาหาร : วิตามินบี2
ประโยชน์ : ช่วยในปฏิกิริยาการเผาผลาญ
แหล่งอาหารที่ดี : ตับ, นม, ข้าวโอ๊ต
[13] สารอาหาร : วิตามินบี 3 (ไนอะซีน)
ประโยชน์ : ช่วยในปฏิกิริยาการเผาผลาญและผลิตพลังงาน
แหล่งอาหารที่ดี : ตับ, เนื้อสัตว์, ข้าวโอ๊ต, ถั่ว
[14] สารอาหาร : วิตามินบี 6
ประโยชน์ : ช่วยการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน, สร้างเลือด, ช่วยผลิตสารสื่อประสาทในสมอง
แหล่งอาหารที่ดี : เนื้อสัตว์, ปลา, ไก่, ตับ, มันฝรั่ง, กล้วย, แตงโม
[15] สารอาหาร : วิตามินบี 5 (กรดแพนโทนิก)
ประโยชน์ : ช่วยในปฏิกิริยาการผลิตพลังงาน
แหล่งอาหารที่ดี : ไก่, เนื้อวัว, ตับ, มันฝรั่ง, ข้าวโอ๊ต, มะเขือเทศ, เมล็ดทานตะวัน
[16] สารอาหาร : วิตามินบี 6 (ไบโอติน)
ประโยชน์ : ช่วยการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโน
แหล่งอาหารที่ดี : ดอกกะหล่ำ, ถั่ว, กล้วย, แครอท, อะโวคาโด, ปลาแซลมอน
[17] สารอาหาร : วิตามินบี 9 (โฟเลต หรือ กรดโฟลิก)
ประโยชน์ : เสริมสร้างสุขภาพหัวใจ ป้องกันทารกผิดปกติในหญิงตั้งครรภ์, ช่วยสร้างดีเอ็นเอและเม็ดเลือดป้องกันโลหิตจาง, ช่วยในการเผาผลาญกรดอะมิโน
แหล่งอาหารที่ดี : ข้าวโอ๊ต, ตับ, ถั่ว, ผักใบเขียวจัด, (ผักโขม, บร็อกโคลี, คะน้า, ผักบุ้ง, กวางตุ้ง, สลัดใบเขียว), ธัญพืชไม่ขัดสี, จมูกข้าวสาลี, ส้ม, สตรอเบอร์รี่, กระเจี๊ยบ
[18] สารอาหาร : วิตามินบี 12
ประโยชน์ : ช่วยการทำงานของโฟเลตป้องกันโลหิตจาง, ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ, ป้องกันและช่วยสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท
แหล่งอาหารที่ดี : เนื้อสัตว์ต่างๆ , เครื่องในสัตว์, นม, โยเกิร์ต
สารอาหารกลุ่มแร่ธาตุ (เกลือแร่)
[19] สารอาหาร : แคลเซียม (Calcium)
ประโยชน์ : ช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อ, การทำงานของกระแสประสาท, การแข็งตัวของเลือด, ช่วยให้กระดูกแข็งแรง, ช่วยเผาผลาญไขมัน, ช่วยลดความดันโลหิต, ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่
แหล่งอาหารที่ดี : กุ้งแห้ง(จืด), ปลาเล็กปลาน้อย, ปลากระป๋อง, ปูเค็ม, ถั่วเหลือง, ถั่วเมล็ดแห้ง, คะน้า, บล็อกโคลี่, กวางตุ้ง, งา, นม, และผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำหรือขาดไขมัน (โยเกิร์ต ชีส)
[20] สารอาหาร : ธาตุเหล็ก (Iron)
ประโยชน์ : ป้องกันโลหิตจาง, สร้างเม็ดเลือด, นำอ็อกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์, ช่วยการทำงานของสมอง, เพิ่มภูมิต้านทานองค์ประกอบของเอนไซม์
แหล่งอาหารที่ดี : เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ, ผักใบเขียวจัด, ถั่วเหลือง, ถั่วเมล็ดแห้ง, กากน้ำตาล
[21] สารอาหาร : ทองแดง (Copper)
ประโยชน์ : ช่วยสร้างเอนไซม์และเม็ดเลือด, ช่วยลดอนุมูลอิสระ, ช่วยการทำงานของกระดูกและปอด, ช่วยให้แผลหายเร็ว
แหล่งอาหารที่ดี : ปลา, ตับ, ข้าวโอ๊ต, เมล็ดธัญพืช, เห็ด, ผักใบเขียว, ถั่วต่างๆ เมล็ดถั่วลันเตา
[22] สารอาหาร : แมงกานีส (Manganese)
ประโยชน์ : องค์ประกอบของเอนไซม์ในร่างกาย, ป้องกันอนุมูลอิสระ, เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและสร้างกระดูกอ่อน, ช่วยซ่อมแซมสภาพร่างกายและผิว
แหล่งอาหารที่ดี : จมูกข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต, ขนมปังโฮลวีต, ถั่ว, งา, รำข้าว, สัปปะรด, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่
[23] สารอาหาร : โพแทสเซียม (Potassium)
ประโยชน์ : ควบคุมความดันโลหิต, การทำงานของกล้ามเนื้อและกระแสประสาท
แหล่งอาหารที่ดี : ผักต่างๆ, บรอกโคลี, มะเขือเทศ, กล้วยม, ส้ม, กีวี, มัน, ถั่ว, นม, โยเกิร์ต
[24] สารอาหาร : แมกนีเซียม (Magnesium)
ประโยชน์ : ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูก, ช่วยให้หัวใจแข็งแรง, ช่วยการหดตัวของกล้ามเนื้อ, การแข็งตัวของเลือด, ช่วยผลิตพลังงาน, สังเคราะห์โปรตีน ดีเอ็นเอ
แหล่งอาหารที่ดี : ข้าวซ้อมมือ, เนยแข็ง, เต้าหู้, ธัญพืชไม่ขัดสี, เมล็ดถั่วลันเตา, ถั่วเหลือง, อัลมอนต์, นม, ผักและผลไม้ต่างๆ, ผักโขม
[25] สารอาหาร : ฟอสฟอรัส (Phosphorus)
ประโยชน์ : องค์ประกอบของกระดูกและฟัน, ช่วยในกระบวนการผลิตพลังงาน, ช่วยการทำงานของเอนไซม์และวิตามินบางชนิด
แหล่งอาหารที่ดี : เนื้อสัตว์, นม, ไข่, ธัญพืช, ถั่วต่างๆ
[26] สารอาหาร : ซีลีเนียม (Silinium)
ประโยชน์ : ลดอนุมูลอิสระ, ควบคุมระบบการทำงานของไทรอยด์, เสริมสร้างสุขภาพต่อมลูกหมาก, ป้องกันมะเร็ง, เพิ่มภูมิต้านทาน
แหล่งอาหารที่ดี : อาหารทะเล, เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน, เครื่องในสัตว์, ไข่, เห็ด, ถั่วเปลือกแข็ง, ธัญพืชต่างๆ, กระเทียม
[27] สารอาหาร : โครเมียม (Chromium)
ประโยชน์ : จำเป็นต่อระบบการทำงานของคาร์โบไฮเดรตและไขมัน, ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อและฮอร์โมนอินซูลิน
แหล่งอาหารที่ดี : เนื้อสัตว์, ตับ, กล้วย, ผักโขม, พริกหวาน, แอ็ปเปิ้ล, ธัญพืชไม่ขัดสี, บริวเออร์สยีสต์, ไวน์แดง
[28] สารอาหาร : สังกะสี (Zinc)
ประโยชน์ : องค์ประกอบของเอนไซม์มากมายช่วยการทำงานของยีน ฮอร์โมน การมองเห็น กลิ่น รส และ ระบบสืบพันธุ์, เพิ่มภูมิต้านทาน, ลดระยะเวลาและอาการหวัด
แหล่งอาหารที่ดี : อาหารทะเล, เนื้อสัตว์, นม, ถั่วเมล็ดแห้ง, ข้าวโอ๊ต, ถั่วเปลือกแข็ง
[29] สารอาหาร : ไอโอดีน (Iodine)
ประโยชน์ : องค์ประกอบของฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งควบคุมระบบเผาผลาญ ระบบสืบพันธุ์ การเจริญเติบโตและอุณหภูมิในร่างกาย
แหล่งอาหารที่ดี : อาหารทะเล, นม, ไข่, ข้าวโอ๊ต, เกลือเสริมไอโอดีน
สารพฤกษเคมี (สารต้านอนุมูลอิสระ)
[30] สารอาหาร : แอลฟาแคโรทีน (Alpha-carotene)
ประโยชน์ : เพิ่มความแข็งแรงของหัวใจและปอด
แหล่งอาหารที่ดี : แครอต, ฟักทอง, ข้าวโพดหวาน
[31] สารอาหาร : เบต้าแคโรทีน (Beta-carotene)
ประโยชน์ : ช่วยการทำงานของตา(การมองเห็น), ปอด, หัวใจ, ผิวหนัง, ลดอนุมูลอิสระ
แหล่งอาหารที่ดี : ผักและผลไม้สีเหลืองจัด สีส้มจัด ผักใบเขียวจัด
[32] สารอาหาร : ลูเทอีน / ซีแซนทิน / ไลโคปีน (Lutein / Zeaxanthin / Lycopene)
ประโยชน์ : ช่วยสุขภาพตาในผู้ที่อายุมากขึ้น, ป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระ, ป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก, ป้องกันโรคหัวใจ
แหล่งอาหารที่ดี : ผักสีเขียว, มะเขือเทศ, แตงโม, พริกหวานสีแดง
[33] สารอาหาร : เรสเวอราทรอล (Resveratrol)
ประโยชน์ : เสริมสร้างสุขภาพหัวใจ, ป้องกันการสะสมของคอเลสเตอรอลในเลือด
แหล่งอาหารที่ดี : องุ่นแดง, บลูเบอร์รี่, แครนเบอร์รี่
[34] สารอาหาร : กรดฟินอลิก (กรดเอลลาจิก) (Phenolic)
ประโยชน์ : ต่อต้านอนุมูลอิสระ, ชะลอความเสื่อมของวัย
แหล่งอาหารที่ดี : ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, (โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่)
[35] สารอาหาร : แอนโทไซยานิน (Anthocyanin)
ประโยชน์ : ลดอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบ
แหล่งอาหารที่ดี : หอมหัวใหญ่, แอ็ปเปิ้ล, องุ่นแดง, บลูเบอร์รี่, แครนเบอร์รี่, ชาเขียว
[36] สารอาหาร : ฟลาโวนอยด์ (เควอร์ซิติน) (Flavonoid)
ประโยชน์ : ส่งเสริมสุขภาพและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
แหล่งอาหารที่ดี : หอมหัวใหญ่, แอ็ปเปิ้ล, องุ่นแดง, บลูเบอร์รี่, แครนเบอร์รี่, ชาเขียว
[37] สารอาหาร : โบรมีเลน (Bromelain)
ประโยชน์ : ส่งเสริมสุขภาพข้อต่อในร่างกาย
แหล่งอาหารที่ดี : สัปปะรด
ขอบคุณข้อมูลที่มีประโยชน์จากหนังสืออาหารบำบัดโรค เขียนโดย อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกำหนดอาหารขึ้นทะเบียนวิชาชีพประเทศสหรัฐอเมริกา