นิสัยหรือพฤติการที่แย่ๆ บางอย่าง เป็นปัจจัยหลักที่เร่งกระบวนการแก่ตัวตามข้อความต่อไปนี้ “คุณกินอะไร คุณก็จะเป็นเช่นนั้น คุณประพฤติตัวเช่นไร คุณก็จะได้รับเช่นนั้น”
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดกระบวนการแก่ชราคือ :
- โกร๊ทฮอร์โมนหลั่งลดลง
- กินอาหารมากเกินไป
- ขาดการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายมากเกินไป
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- การใช้ยาที่ไม่เหมาะสม
- ความเครียด
- การสูบบุหรี่
- มีปัญหาทางสุขภาพจิต
โกร๊ทฮอร์โมนคืออะไร (What Is HGH?)
โกร๊ทฮอร์โมน มักจะถูกขนานนามว่า ‘น้ำพุแห่งความหนุ่มสาว’ เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างโดยต่อมใต้สมอง(pituitary gland) ฮอร์โมนนี้เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนอยู่ทั้งหมด 191 โมเลกุล ถูกสร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติ เพื่อควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของเซลล์
โกร๊ทฮอร์โมน ที่ถูกหลั่งจากต่อมใต้สมอง จะออกมาเป็นช่วงสั้น ๆ และอยู่ในกระแสเลือดเพียงประมาณชั่วโมงกว่า ๆ เท่านั้น ฮอร์โมนนี้จะหลั่งปริมาณมากที่สุดในช่วงเวลาที่หลับลึกตอนกลางคืน (Slow Wave Sleep) ส่วนเวลากลางวันจะหลั่งน้อยกว่าและขึ้นอยู่กับการออกกำลังกายและการรับประทานอาหาร
โกร๊ทฮอร์โมนในกระแสเลือด จะเดินทางไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ อันเป็นปลายทางการสื่อสาร อวัยวะที่รับสัมผัสกับ โกร๊ทฮอร์โมน มากที่สุดคือ ตับ เมื่อตับได้รับสัญญาณจากโกร๊ทฮอร์โมน แล้วจะสร้างสารที่มีหน้าที่คล้ายอินซูลิน (Insulin like Growth Factor -1 หรือเรียกว่าฮอร์โมน IGF-1 ) ออกมาตอบสนอง ฮอร์โมนนี้มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการเจริญเติบโต และการซ่อมแซมเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย นอกจากนี้ IGF-1 ยังส่งเสริมกระบวนการเผาพลาญกลูโคส กระตุ้นระบบภูมิต้านทาน และเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ นี่คือ ผลที่คล้ายกับการทำงานของอินซูลิน และนี่คือสาเหตุว่าทำไม IGF-1 จึงมีประโยชน์คล้ายกับ โกร๊ทฮอร์โมน
โกร๊ทฮอร์โมน จะถูกปลดปล่อยออกมาจากต่อมใต้สมองเข้าสู่กระแสโลหิตเป็นระยะสั้น ๆ ช่วงอายุที่ออกมามากที่สุด คือ ช่วงวัยรุ่น
- ในวัย 20 ปี ฮอร์โมนนี้จะออกมาประมาณวันละ 500 ไมโครกรัม
- เมื่ออายุ 40 ปี ลดลงเหลือ 200 ไมโครกรัม
- และเมื่ออายุ 80 ปี จะลดลงเหลือวันละ 25 ไมโครกรัมเท่านั้น
จะเห็นว่า การหลั่งของ โกร๊ทฮอร์โมน นั้น ลดลงอย่างต่อเนื่องตามการเพิ่มขึ้นของอายุ จากการวิจัยพบว่า หลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไป ฮอร์โมนนี้จะหลั่งลดลงประมาณ 14% ทุก ๆ 10 ปี
สัญญาณของความแก่ชรา
สัญญาณที่บ่งบอกถึงความแก่ชรามีหลายประการ ซึ่งสามารถปรากฏในด้านร่างกายและจิตใจ เช่น:
- ผิวหนังหย่อนคล้อยและมีริ้วรอย – ผิวเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เกิดริ้วรอยและจุดด่างดำ
- ผมหงอกหรือผมร่วง – ผมเริ่มเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือหงอก และอาจมีการร่วงของผมมากขึ้น
- การมองเห็นและการได้ยินลดลง – การมองเห็นและการได้ยินอาจลดลง หรือมีปัญหาทางการมองเห็น เช่น ต้อกระจก
- ความจำและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ลดลง – อาจมีปัญหาในการจำหรือคิดวิเคราะห์ที่ไม่เหมือนเดิม
- ความอ่อนล้าหรือพลังงานลดลง – รู้สึกเหนื่อยง่ายขึ้นและมีพลังงานลดลงในกิจกรรมประจำวัน
- ข้อต่อและกระดูกเสื่อม – ข้อต่ออาจเริ่มมีอาการปวดหรืออักเสบ และกระดูกอาจเปราะบางขึ้น
- การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักและรูปร่าง – อาจมีการเพิ่มหรือลดของน้ำหนัก และการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
- ระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง – ร่างกายอาจมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อมากขึ้น
- ปัญหาการนอนหลับ – อาจมีปัญหาการนอนหลับไม่ดี หรือนอนหลับไม่พอ
สัญญาณเหล่านี้เป็นเรื่องปกติเมื่อคนเราอายุมากขึ้น แต่การดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสมสามารถช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้